วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ทฤษฏีการเรียนรู้แบบร่วมกัน (Theory of Collaborative Learning)

 การเรียนรู้แบบร่วมกัน (Collaborative Learning)
Artifact Discussion
1   ทฤษฏีพื้นฐานของการเรียนแบบร่วมกัน Johnson and Johnson (1996)  กล่าวว่ามีทฤษฎี 3 ทฤษฎีที่ชี้นำในการวิจัยการเรียนแบบร่วมกัน (Collaborative Learning) คือ
1.1   Cognitive-developmental Perspective  เป็นพื้นฐานมาจากทฤษฎีของ Piaget and Vygotsky ซึ่ง Piaget กล่าวถึง การเรียนรู้แบบร่วมมือรายบุคคลบนสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ ส่วน Vygotsky  กล่าวถึง องค์ความรู้ คือสังคม สร้างมาจากผลของการร่วมมือกันในการเรียนความเข้าใจ และการแก้ปัญหา
1.2   Behavioral Learning Theory Perspective ของ Skinner ซึ่งกล่าวถึงการเสริมแรง การให้รางวัล
1.3   Social Interdependence กล่าวถึงบุคคลหลาย ๆ คนที่มีเป้าหมายมีส่วน ร่วมกัน และบุคคลที่ประสบความสำเร็จโดยมีกิจกรรมกับผู้อื่น
2   ความหมายของการเรียนรู้แบบร่วมกัน (Collaborative Learning (CL))   เป็นคำสำคัญทางการศึกษา ได้มีผู้ให้คำนิยามไว้อย่างชัดเจนในหลายมุมมอง เช่น
ราชบัณฑิตสถาน (2551)  เรียกว่า การร่วมกันเรียนรู้ หรือการเรียนรู้ร่วมกัน หมายถึง  การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจากที่บุคคลรวมตัวกันทำงานอย่างมีเกียรติและศักดิ์ศรีเสมอกัน    โดยเน้นการรวมพลังและกระบวนการทำงานที่ดี
Gokhlae (1995) เห็นว่า CL คือ วิธีการสอนที่เน้นกระบวนการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มเล็กเพื่อจุดหมายร่วมกัน ผู้เรียนจะมีความรับผิดชอบซึ่งกันและกัน เพื่อผลสำเร็จร่วมกัน
Collaborative learning online (2008) กล่าวว่าการเรียนรู้แบบร่วมกัน ไม่ปรากฏในการเรียนรู้รูปแบบเดิมที่ผู้เรียนมีอิสระในการทำงาน  งานเรียนและมีความรับผิดชอบในตัวเอง  ซึ่งในการเรียนเป็นกลุ่มแบบเดิมโดยทั่วไปเป็นการปฏิบัติด้วยตัวเองและ ทำรายงานดังนั้นจึงไม่ต้องพึ่งพาอาศัยกันกับผู้เรียนอื่น
ไพฑูรย์ และคณะ (2550) ได้ให้ความหมายของการเรียนแบบร่วมแรงรวมพลัง  (Collaborative Learning)  ว่าการเรียนรู้นี้เป็นวิธีการเรียนการสอนแบบทำงานรับผิดชอบร่วมกันเน้นการมีความสนใจร่วมกันของสมาชิกมากกว่าระดับความสามารถ บทบาทของสมาชิกทุกคนมีความชัดเจนและทำงานไปพร้อม ๆ กัน  ศึกษาค้นคว้า ปฏิบัติงานและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน การเรียนแบบนี้เน้นการยอมรับ
ในบทบาทหน้าที่ของกันและกัน   รวมทั้งสามารถแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นซึ่งกันและกันได้
ตลอดเวลา
สรุปได้ว่า การเรียนรู้แบบร่วมกัน (Collaborative Learning)  หมายถึง  การเรียนที่เน้นการทำงานเป็นกลุ่ม  ที่สมาชิกในกลุ่มทำงานรับผิดชอบร่วมกัน   การยอมรับบทบาทหน้าที่ของกันและกันและสามารถแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างสมาชิกด้วยกันได้    ซึ่งในงานวิจัยนี้ เรียกว่า การเรียนรู้แบบร่วมกัน (Collaborative Learning)
3   องค์ประกอบของการเรียนรู้แบบร่วมกัน (Collaborative Learning)
มนต์ชัย  (2551) กล่าวว่า องค์ประกอบของการเรียนรู้แบบร่วมกัน มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่
1.  มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันในทางบวก (Positive Interdependence)
2.  การมีปฏิสัมพันธ์ส่งเสริมซึ่งกันและกัน (Face to Face Promotive Interaction)
3.  ความรับผิดชอบของสมาชิกแต่ละบุคคล (Individual Accountability)
4.  การใช้ทักษะระหว่างบุคคลและทักษะการทำงานกลุ่มย่อย (Interdependence and Small Group Skill)
5.  กระบวนการกลุ่ม (Group Process)
4   หลักเกณฑ์ของการเรียนรู้แบบร่วมกัน (Collaborative Learning)
Johnson, Johnson & Smith (อ้างถึงใน Collaborative learning online, 2008) ได้สรุปหลักการ
เรียนรู้แบบร่วมกันที่เป็นกระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษา ไว้ดังนี้
1.  องค์ความรู้คือการสร้าง การค้นคิดและเปลี่ยนสภาพโดยผู้เรียน  ผู้สอนสร้างเงื่อนไขที่ผู้เรียนสามารถสร้างความหมายจากวัสดุในการเรียนโดยใช้กระบวนการผ่านโครงสร้างทางปัญญาและเก็บไว้ในความจำระยะยาวเพื่อจะสามารถนำกลับมาใช้
2.  ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นในการสร้างองค์ความรู้ การเรียนคือสิ่งที่ผู้เรียนทำไม่ใช่สิ่งที่ทำให้ผู้เรียน ผู้เรียนไม่ใช่คอยรับความรู้จากครูหรือหลักสูตร  ผู้เรียนจะต้องมีความกระตือรือร้นที่จะเรียนโดยใช้โครงสร้างทางปัญญาหรือสร้างองค์ความรู้ขึ้นมาใหม่
3.  การสอนมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาสมรรถนะและความสามารถด้านต่าง ๆ ของผู้เรียน
4.  การศึกษาคือการติดต่อระหว่างบุคคลของผู้เรียน  และระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนในการทำงาน ร่วมกัน
5.  ข้อ ก-ง สามารถใช้แทนด้วยบริบทของการร่วมมือกัน
6.  การสอนจะสมบูรณ์และมีประโยชน์ตามทฤษฎีจะต้องพิจารณาที่ผู้สอนว่าได้มีการอบรมทักษะและกระบวนการของการสอนแบบร่วมกันอย่างต่อเนื่อง

5   การออกแบบการเรียนรู้แบบร่วมกัน (Collaborative Learning)
อุดม (2551) กล่าวว่า การออกแบบการเรียนรู้แบบร่วมกัน   ต้องทำให้เกิดความสะดวกระหว่างนักเรียนกับนักเรียน นักเรียนกับครู ครูกับครู ห้องเรียนกับสถาบันการศึกษาอื่น ๆ และชุมชน   การเรียนต้องเป็นอิสระ ผู้เรียนได้กระทำเองปฎิบัติเอง มีการสื่อสารทางไกลกับนักศึกษาอื่น  การสื่อสารการเรียน
แบบร่วมกัน (Collaborative)  ซึ่งสอดคล้องกับ Eugenia M. W. Ng and Ada W. W. Ma (2002)  กล่าวว่า การปฏิสัมพันธ์ของผู้เรียนช่วยสนับสนุนการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  ซึ่งง่ายและสะดวกในการติดต่อไปยังผู้เรียนคนอื่น ๆ  ซึ่งมีความสะดวกในเรื่องเวลาและสถานที่อีกด้วย   เมื่อเปรียบเทียบกับการสื่อสารแบบอื่น  นอกจากนี้ เว็บยังสามารถเก็บข้อความข่าวสาร ที่ผู้ใช้สามารถนำมาสร้างใหม่ สามารถนำมาอ้างอิง เปลี่ยนและเก็บบันทึกระหว่างมีปฎิสัมพันธ์กันได้โดยง่าย และผลที่ได้คือ ผู้เรียนที่มีพื้นหลังที่แตกต่างกันและสถานที่ต่างกันสามารถแบ่งปันระหว่างกัน    และประสบการณ์กลุ่มและการออกความเห็นร่วมกันในการแก้ปัญหาในกระบวนการเรียน
ข้อแตกต่างระหว่างการเรียนรู้แบบร่วมมือกับการเรียนรู้แบบร่วมกัน
ณมน (2007) กล่าวว่า การเรียนรู้แบบร่วมกัน(Collaborative Learning)  กับการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning)  มีความหมายใกล้เคียงกันมาก   บางครั้งเราสามารถใช้แทนกันได้    แต่โดยส่วนใหญ่ค่าว่า “Collaborative Learning” จะใช้กับการเรียนการสอนออนไลน์  ซึ่งทั้ง Collaborative Learning  กับ  Cooperative Learning  มีข้อแตกต่างกันในเรื่องของโครงสร้างพื้นฐานของบทเรียน (Pre – Structure) โครงสร้างหรือกิจกรรมการเรียน (Task – Structure)  และโครงสร้างเนื้อหา (Content Structure)  Cooperative Learning  จะมีการกำหนดโครงสร้างล่วงหน้ามากกว่า  มีความเกี่ยวข้องกับงานที่มีการจัดโครงสร้างไว้เพื่อคำตอบที่มีขอบเขตชัดเจน    และมีการเรียนรู้ในขอบข่ายความรู้และทักษะที่ชัดเจนมากกว่า ส่วน Collaborative Learning มีการจัดโครงสร้างล่วงหน้าน้อยกว่า เกี่ยวข้องกับงานที่มีการจัดโครงสร้างแบบหลวมๆ (Ill – Structure Task)   เพื่อให้ได้คำตอบที่ยืดหยุ่นหลากหลาย และมีการเรียนรู้ในขอบข่ายความรู้และทักษะที่ไม่จำกัดตายตัว  ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสภาพการเรียนการสอนออนไลน์มักนิยมใช้คำว่า การเรียนรู้แบบร่วมกัน (Collaborative Learning)


ที่มาข้อมูล  http://becreativetv.com
ที่มารูปภาพ http://www.lakeshoremuseum.org

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น