วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556

วิดีทัศน์เพื่อการศึกษา

ความหมายของสื่อวิดีทัศน์
วีดิทัศน์เป็นการเล่าเรื่องด้วยภาพ ภาพทำหน้าที่หลักในการนำเสนอ เสียงจะเข้ามาช่วยเสริมในส่วนของภาพเพื่อให้เข้าใจเนื้อเรื่องมากยิ่งขึ้น วีดิทัศน์เป็นสื่อในลักษณะที่นำเสนอเป็นภาพเคลื่อนไหว และสร้างความต่อเนื่องของการกระทำของวัตถุจากเรื่องราวต่างๆ สร้างความรู้สึกใกล้ชิดกับผู้ชม เป็นสื่อที่เข้าถึงง่าย มีความรวดเร็วสามารถเสนอเหตุการณ์ได้ทันที ถ้าเสนอรายการผ่านระบบโทรทัศน์ ก็จะเป็นรายการโทรทัศน์
การผลิตวีดิทัศน์ในการศึกษานั้น เป็นเรื่องของการสื่อสาร การถ่ายทอดความรู้ผ่านสื่อ วีดิทัศน์ไปยังกลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนและครูเป็นจุดมุ่งหมายหลัก ขั้นตอนการผลิตนั้นเหมือนกับการผลิตรายการวีดิทัศน์ทั่วไป แต่จะแตกต่างกันที่รายละเอียดความถูกต้อง น่าเชื่อถือ และการสื่อความหมายเพื่อการเรียนรู้ การสอน รายการวีดิทัศน์ ที่มีคุณภาพนั้นต้องสื่อความหมายหรือถ่ายทอดความรู้ต่างๆ ได้ตามวัตถุประสงค์หลักที่ตั้งเอาไว้ 
ลักษณะความหมายของสื่อวิดีทัศน์ใหม่
ปัจจุบัน วิดีทัศน์ที่อยู่ในรูปของเส้นเทปเคลือบสารแม่เหล็ก ในฝั่งผู้ใช้งานทั่วไป  แทบจะไม่มีให้เห็นแล้ว อันเนื่องมาจากเทคโนโลยีของกระบวนการบันทึกและการอ่านสัญญาณวิดีทัศน์ได้แปรเปลี่ยนจากการบันทึกลงบนเส้นแม่เหล็ก เป็นการบันทึกด้วยเทคโนโลยีเชิงแสงกันเกือบทั้งหมด โดยการเล่นผ่านเครื่องเล่น VCD, DVD BlueRay ส่งสัญญาณภาพและเสียงให้ได้เห็นและได้ยินอย่างสมบูรณ์ ผ่าน เครื่องรับโทรทัศน์ หรือคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์มัลติมีเดียประเภท LCD LED หรือ Plasma เป็นต้น
ฝั่งการผลิต ยังคงมีเทคโนโลยีเส้นเทปอยู่แต่จะมีการพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพการบันทึกโดยเคลือบสารแม่เหล็กพิเศษ นอกจากนี้มี อีก 2 เทคโนโลยี ที่นำมาใช้งานร่วมด้วย ได้แก่ หน่วยเก็บบันทึกบนจานแม่เหล็ก : harddisk และหน่วยบันทึกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ SSD : Solid State Disc(Drive) เข้ามาใช้งาน
ลักษณะเฉพาะของวีดิทัศน์
1.       เป็นสื่อที่สามารถเห็นได้ทั้งภาพ และฟังเสียง
2.       มีความคงที่ของเนื้อหา
3.       เสนอเป็นภาพเคลื่อนไหวที่แสดงความต่อเนื่องของการกระทำ
4.       ใช้ได้ทั้งผู้ชมทั้งที่เป็นกลุ่มเล็กและกลุ่มใหญ่
5.       เสนอได้ทั้งภาพจริงและกราฟิกต่างๆ

6.       สามารถเก็บเป็นข้อมูลและนำมาเผยแพร่ได้หลายครั้ง
ประเภทของรายการวีดิทัศน์เพื่อการศึกษา
รายการวีดิทัศน์เพื่อการศึกษาตามลักษณะของรายการไม่แตกต่างจากรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา ซึ่งจำแนกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่
1.       รายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา (Education Television : ETV)
รายการประเภทนี้มุ่งส่งเสริมการให้ความรู้ทั่วไปในด้านต่างๆ แก่ผู้ชม เช่น สารคดี วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เป็นต้น
2.       รายการโทรทัศน์เพื่อการสอน (Instruction Television ITV)
รายการประเภทนี้เน้น ในเรื่องการเรียนการสอนแก่กลุ่มผู้ชมบางกลุ่มโดยตรง ใช้ได้ทั้งการสอนเนื้อหาทั้งหมดเป็นหลัก และการสอนเสริม มักจะเป็นรายการที่ครอบคลุมกระบวนการเรียนการสอนที่สมบูรณ์ ตั้งแต่วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอนและการวัดผล ใช้ได้ทั้งภายในสถานศึกษาโดยตรง หรือการศึกษาระบบเปิด เช่น รายการสถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ สถานีวิทยุโทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม





 ที่มาข้อมูล http://mediathailand.blogspot.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น