วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2556

หลักการทำงานและประโยชน์ของFile Tranfer Protocol(FTP)

(File Transfer Protocal)
FTP คืออะไร 
FTP (File Transfer Protocol) คือการถ่ายโอนไฟล์ หรือเรียกได้อีกอย่างว่า การคัดลอกแฟ้มข้อมูลบนเครือข่าย คือ การโอนย้ายแฟ้มข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ระบบหนึ่งมายังอีกระบบหนึ่งผ่านเครือข่าย ซึ่งทำได้หลายรูปแบบ เช่น การโอนจากแม่ข่ายมายังเครื่องพีซี หรือ เครื่องพีซีไปแม่ข่ายหรือระหว่างแม่ข่ายด้วยกันเอง การถ่ายโอนแฟ้มข้อมูลหรือการโอนย้ายแฟ้มข้อมูลอาศัยโปรแกรมหนึ่งที่มีการใช้งานกันมากและมีบริการอยู่ในโฮสต์แทบทุกเครื่อง คือ โปรแกรม FTP
FTP มีความสำคัญและประโยชน์อย่างไร
ในโลกธุรกิจปัจจุบันที่มีการแข่งขันกันมากในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านการผลิต ด้าน การตลาด การบริหาร การจัดการ และด้านที่ขาดไม่ได้ด้วยเช่นกัน คือ ด้านการสื่อสาร ซึ่งแต่ละธุรกิจมีความจำเป็นต้องใช้ ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อสื่อสารกับลูกค้า การติดต่อสื่อสารภายในหรือระหว่างบริษัท ซึ่ง FTP มีส่วนช่วยอย่างมากในการสื่อสารต่างๆ FTP จะช่วยให้การถ่ายโอนข้อมูลเป็นไปได้ง่ายมากขึ้น แต่ละบริษัทหรือหน่วยงานสามารถมีข้อมูลมากมายหลายรูปแบบที่ต้องการสื่อสารไปยังแหล่งอื่น หรือแม้แต่ต้องการข้อมูลที่เป็นประโยชน์จากแหล่งอื่นเข้ามาใช้ เช่น ข้อมูลข่าวสารประจำวัน บทความ ข้อมูลทางสถิติ ผลการทดลองทางวิทยาศาสตร์ เป็นต้น การจะเดินทางไปเอาข้อมูลต่างๆ เองก็ถอเป็นการเสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์ ในเมื่อมีเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเหลือแล้ว FTP จะเป็นตัวช่วยให้การได้รับข้อมูลเหล่านี้สามารถทำได้ง่ายยิ่งขึ้นเพียงอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เท่านั้น ผู้ใช้งานสามารถใช้ FTP ในการโอนข้อมูลจำนวนมากจากแหล่งที่อนุญาต ให้ใช้ได้ ซึ่งเรียกว่าเป็นแหล่งบริการ FTP ซึ่งมักเป็นศูนย์รวบรวมข้อมูลข่าวสารต่างๆอยู่มาก และเปิดบริการทั่วไป เพียงแค่ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตเข้าไปใช้บริการคัดลอกแฟ้มข้อมูลต่างๆ มาใช้งาน
วิธีการทำงานของ FTP 
Ftp ทำงานในแบบไคลเอนต์เซิร์ฟเวอร์ โดยพัฒนาขึ้นตามโปรโตคอลพื้นฐาน TCP ซึ่งจะต้องมีการติดต่อเพื่อจองช่องสื่อสาร (Connection Establishment) ก่อนทำการสื่อสารจริง ซึ่งเรียกว่าเป็นการติดต่อแบบที่ต้องขอเชื่อมต่อก่อน (Connection – Oriented) ในการใช้งาน FTP เพื่อเริ่มการติดต่อสื่อสารนั้น จะต้องระบุหมายเลข IP ปลายทาง และต้องผ่านการแจ้งรหัส Login และ Password ของเซิร์ฟเวอร์ที่จะติดต่อก่อนจึงจะเข้าใช้งานได้
ข้อมูลของ FTP ที่สื่อสารระหว่างกันมี 2 ประเภทคือ
ข้อมูล(Data) หมายถึงข้อมูลต่างๆที่ต้องการรับส่ง รวมทั้งไฟล์ที่รับมาจากเซิร์ฟเวอร์ หรือส่งมาจาก ไคลเอนต์แล้วไปเก็บที่เซิร์ฟเวอร์
ข้อมูลคำสั่ง (Command) FTP จะมีคำสั่งที่ใช้สั่งงานต่างๆ เช่น dir เป็นคำสั่งที่ใช้แสดงชื่อไฟล์หรือไดเรคทอรีในเครื่องเซิร์ฟเวอร์ หรือ get ใช้โหลดไฟล์มาที่เครื่องไคลเอนต์ผ่านโปรแกรม FTP แล้วโปรแกรมจะส่งคำสั่งไปยังเซิร์ฟเวอร์เพื่อทำงาน และแจ้งผลการทำงานกลับมายังไคลเอนต์ ซึ่งผลการทำงานนี้จะนำหน้าด้วยตัวเลข 3 หลัก เป็นรหัสที่ใช้แสดงสถานะการทำงานภายในของ FTP และต่อด้วยข้อความที่เป็นเท็กซ์ต่อท้าย ซึ่งก็คือผลการทำงานหรือคำอธิบายต่างๆ โดยที่ FTP มีกระบวนการภายในที่จะตรวจสอบได้ว่าข้อมูลที่จะรับส่งนี้เป็นประเภทคำสั่งไม่ใช่ตัวข้อมูลที่ต้องการจะโอนย้าย
การที่ FTP สามารถแยกแยะข้อมูลจริงออกจากข้อมูลที่เป็นคำสั่งได้นั้น ถือว่าเป็นหน้าที่การทำงานของโมดูลใน FTP ที่เรียกว่าโปรโตคอล (Protocol Interpreter Module หรือ PI) ซึ่งทำหน้าที่รองรับการทำงานคำสั่งต่างๆของ FTP และในส่วนของข้อมูลที่รับส่งนั้นจะเป็นหน้าที่ของโมดูลโอนข้อมูล (Data Transfer หรือ DT) ซึ่งโมดูลทั้งสองนี้จะต้องทำงานอยู่ทั้งในเครื่องที่เป็นเซิร์ฟเวอร์ และไคลเอ็นต์
packet_ftp1.jpg

รูปการทำงานของ Protocal FTP

จากรูปแสดงถึงองค์ประกอบและกลไกการทำงานของโปรโตคอล FTP จะเริ่มจากผู้ใช้ (USER) เรียกใช้โปรแกรมผ่าน User Interface และ เมื่อเป็นโปรแกรม FTP พร้อมใช้งานแล้ว ถ้ามีการใช้คำสั่งต่างๆของFTPจะเป็นหน้าที่ของ PI (Protocol Interpreter module) ทำหน้าที่แปลคำสั่งและทำงานตามคำสั่ง ในกรณีที่มีการส่งรับข้อมูลก็จะเป็นหน้าที่ของ DT (Data Transfer module) ซึ่งโมดูล PI และDTนี้จะอยู่ทั้งด้านของไคลเอนต์และเซิร์ฟเวอร์


 ที่มาข้อมูล http://ejeepss.wordpress.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น