วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

องค์ประกอบคอมพิวเตอร์


 องค์ประกอบพื้นฐานของเครื่องคอมพิวเตอร์
        ดังที่ทราบกันแล้วว่าเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยในการคำนวณและการทำงานของมนุษย์ เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถประมวลผลข้อมูลให้กลายเป็นสารสนเทศ สามารถเปรียบเทียบและตัดสินใจ สามารถทำงานทางตรรกศาสตร์ สามารถคำนวณค่าทางคณิตศาสตร์ที่มนุษย์เองต้องใช้เวลามากในการแก้ปัญหา และสามารถออกแบบและสร้างสรรค์งานทางกราฟิกได้ หากเปรียบเทียบกับมนุษย์ เราสามารถทำงานให้ลุล่วงได้ เนื่องจากมีสมองที่ช่วยคิดคำนวณ ตัดสินใจ และออกแบบงาน แล้วเครื่องคอมพิวเตอร์จะใช้ส่วนประกอบใดมาทำหน้าที่เหมือนสมองเพื่อให้งานสำเร็จลุล่วงได้ ในหัวข้อนี้เราจะศึกษาว่าองค์ประกอบพื้นฐานที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้นั้นประกอบด้วยกี่ส่วนและอะไรบ้าง
















องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์
           ในการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยองค์ประกอบพื้นฐาน 5 ส่วนด้วยกัน ได้แก่ หน่วยรับเข้า (Input Unit) หน่วยประมวลผล กลาง (Central Processing Unit) หน่วยความจำหลัก (Main Memory Unit) หน่วยความจำรอง (Secondary Memory Unit) และหน่วยส่งออก (Output Input) แต่ละหน่วยทำหน้าที่ประสานกัน ดังรูป โดยปกติการทำงานหนึ่ง ๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์จะเริ่มจากผู้ใช้ป้อนข้อมูลผ่านทางหน่วยรับเข้า ได้แก่ อุปกรณ์รับเข้าข้อมูล (Input Device) เช่น แผงแป้นอักขระ เมาส์ โดยข้อมูลที่ป้อนเข้าไปจะได้รับการเปลี่ยนแปลงให้อยู่ในรูปสัญญาณดิจิตอล ซึ่งประกอบด้วยเลข 0 และ 1 คำสั่งและข้อมูลดังกล่าวจะถูกส่งต่อไปยังหน่วยประมวลผลกลางเพื่อประมวลผลตามคำสั่งต่อไป และในระหว่างการประมวลผลหากมีคำสั่งให้นำผลลัพธ์จากการประมวลผลไปจัดเก็บในหน่วยความจำหลัก ซึ่งหน่วยความจำหลักที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลจากการประมวลผลเป็นการชั่วคราวนี้เรียกว่า แรม” (Random Access Memory : RAM) ข้อมูลดังกล่าวจะถูกส่งไปยังหน่วยความจำหลักพร้อมทั้งค่าที่อ้างอิงถึงตำแหน่งในการจัดเก็บ ทั้งนี้ เนื่องจากภายในหน่วยความหลักมีพื้นที่ใช้จัดเก็บข้อมูลหลายประเภท ซึ่งเราจะได้ศึกษาต่อไป ในขณะเดียวกันอาจมีคำสั่งให้นำผลลัพธ์จากการประมวลผลดังกล่าวไปแสดงผลผ่านทางหน่วยส่งออก ซึ่งอาจเป็นจอภาพ (Monitor) หรือเครื่องพิมพ์ (Printer) นอกจากนี้เราสามารถบันทึกข้อมูลที่อยู่ในแรมลงในหน่วยความจำรอง อันได้แก่ แผ่นบันทึก (Diskette) ซีดีรอม (Compact Disk Read Only Memory : CD-ROM) เพื่อนำข้อมูลดังกล่าวกลับมาใช้อีกในอนาคตได้ โดยการอ่านข้อมูลที่บันทึกในสื่อดังกล่าวผ่านทางเครื่องขับ (Drive) และในปัจจุบันมีการคิดค้นหน่วยความจำรองที่พัฒนามาจากหน่วยความจำหลัก ประเภทที่เรียกว่า รอม” (Read Only Memory : ROM) ทำให้สามารถบันทึกข้อมูลได้ปริมาณมากขึ้น และมีขนาดเล็กสะดวกต่อการพกพา และจากที่กล่าวมาทั้งหมด การส่งข้อมูลผ่านไปยังหน่วยต่าง ๆ ภายในระบบคอมพิวเตอร์จะผ่านทางระบบบัส (Bus)  ไม่ว่าจะเป็นบัสข้อมูล (Data Bus)  ทำหน้าที่ส่งสัญญาณข้อมูล  บัสที่อยู่ (Address Bus) ทำหน้าที่ส่งตำแหน่งอ้างอิงในหน่วยความจำหลักไปยังหน่วยความจำหลัก ในขณะที่มีการสั่งจัดเก็บข้อมูลในหน่วยความจำดังกล่าวหรือบัสควบคุม (Control Bus) ที่ทำหน้าที่ส่งสัญญาณควบคุมไปยังอุปกรณ์ต่าง ๆ



 ที่มาของข้อมูล:http://www.chakkham.ac.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น