วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2556

Mega Bit Per Second(Mbps) คืออะไร

Mbps คืออะไร

   Mbps หรือ Mbit/s ย่อมาจาก Megabit Per Second คือ หน่วยที่ใช้วัดอัตราความเร็วในการส่งหรือรับข้อมูลต่อ 1 วินาที ซึ่งหมายถึงหนึ่งล้านบิตต่อวินาที เป็นการวัด Bandwidth (การไหลรวมของสารสนเทศในเวลากำหนด) บนตัวกลางโทรคมนาคม ช่วงของ bandwidth ขึ้นกับตัวกลางและวิธีการส่ง ในบางครั้งวัดเป็น Kbps (พันบิต หรือ kilo bits ต่อวินาที) จนถึง Gbps (พันล้านบิต หรือ giga bits ต่อวินาที) ตัวอย่าง Mbps ที่มักพบเห็นได้บ่อย อย่างการวัดความเร็วอินเตอร์ เป็นต้น
ที่มาข้อมูล http://www.com5dow.com

3G คืออะไร และจงอธิบายประวัติความเป็นมา

เทคโนโลยี 3G คือ

ที่มารูปภาพ http://teen.mthai.com

3G หรือ Third Generation เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารในยุคที่ 3 อุปกรณ์การสื่อสารยุคที่ 3 นั้นจะเป็นอุปกรณ์ที่ผสมผสาน การนำเสนอข้อมูล และ เทคโนโลยีในปัจจุบันเข้าด้วยกัน เช่น PDA โทรศัพท์มือถือ Walkman, กล้องถ่ายรูปและอินเทอร์เน็ต 3G เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาต่อ เนื่องจากยุคที่ 2 และ 2.5 ซึ่งเป็นยุคที่มีการให้บริการระบบเสียง แล ะ การส่งข้อมูลในขั้นต้น ทั้งยังมีข้อจำกัดอยู่มาก การพัฒนาของ 3G ทำให้เกิดการใช้บริการมัลติมีเดีย และ ส่งผ่านข้อมูลในระบบไร้สายด้วยอัตราความเร็วที่สูงขึ้น

ยุค 1G เป็นยุคแรกของการพัฒนาระบบโทรศัพท์แบบเซลลูลาร์ การรับส่งสัญญาณใช้วิธีการมองดูเลตสัญญาณอะนาล็อกเข้าช่องสื่อสารโดยใช้ การแบ่งความถี่ออกมาเป็นช่องเล็ก ๆ ด้วยวิธีการนี้มีข้อจำกัดในเรื่องจำนวนช่องสัญญาณ และการใช้ไม่เต็มประสิทธิภาพ จึงติดขัดเรื่องการ ขยายจำนวนเลขหมาย และการขยายแถบความถี่ ประจวบกับระบบเครื่องรับส่งสัญญาณวิทยุกำหนดขนาดของเซล และความแรงของสัญญาณ เพื่อให้เข้าถึงสถานีเบสได้ ตัวเครื่องโทรศัพท์เซลลูลาร์ยังมีขนาดใหญ่ ใช้กำลังงานไฟฟ้ามาก ในภายหลังจึงเปลี่ยนมาเป็นระบบดิจิตอล และการเข้าช่องสัญญาณแบบแบ่งเวลา โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบ 1G จึงใช้เฉพาะในยุคแรกเท่านั้น

ยุค 2G เป็นยุคที่พัฒนาต่อมาโดยการเข้ารหัสสัญญาณเสียง โดยบีบอัดสัญญาณเสียงในรูปแบบดิจิตอล ให้มีขนาดจำนวนข้อมูลน้อยลงเหลือ เพียงประมาณ 9 กิโลบิตต่อวินาที ต่อช่องสัญญาณ การติดต่อจากสถานีลูก หรือตัวโทรศัพท์เคลื่อนที่กับสถานีเบส ใช้วิธีการสองแบบคือ TDMA คือการแบ่งช่องเวลาออกเป็นช่องเล็ก ๆ และแบ่งกันใช้ ทำให้ใช้ช่องสัญญาณความถี่วิทยุได้เพิ่มขึ้นจากเดิมอีกมาก กับอีกแบบหนึ่งเป็นการแบ่ง การเข้าถึงตามการเข้ารหัส และการถอดรหัสโดยใส่แอดเดรสหมือน IP เราเรียกวิธีการนี้ว่า CDMA - Code Division Multiple Access ในยุค 2G จึงเป็นการรับส่งสัญญาณโทรศัพท์แบบดิจิตอลหมดแล้ว

ยุค 2.5G การสื่อสารไร้สายยุค 2.5G ได้รับการพัฒนาต่อยอดมาจากเทคโนโลยี ในระดับ 2G แต่มีประสิทธิ - ภาพด้อยกว่ามาตรฐาน การสื่อสารไร้สายยุค 3G โดยเทคโนโลยียุค 2.5G สามารถให้บริการรับส่งข้อมูล แบบแพคเก็ตที่ความเร็วระดับ 20 – 40 Kbps ในทางปฏิบัติ เทคโนโลยีจีพีอาร์เอสนับเป็นเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายในระดับ 2.5G

ยุค 3G เป็นยุคแห่งอนาคตอันใกล้ โดยสร้างระบบใหม่ให้รองรับระบบเก่าได้ และเรียกว่า Universal Mobile Telecommunication Systems (UMTS) โดยมุ่งหวังว่า การเข้าถึงเครือข่ายแบบไร้สาย สามารถกระทำได้ด้วยอุปกรณ์หลากหลาย เช่น จากคอมพิวเตอร์ จากเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ระบบยังคง ใช้การเข้าช่องสัญญาณเป็นแบบ CDMA ซึ่งสามารถบรรจุช่องสัญญาณเสียงได้มากกว่า แต่ใช้แบบแถบกว้าง (wideband) ในระบบนี้จึงเรียกอีก อย่างหนึ่งว่า WCDMA 

นอกจากนี้ยังมีกลุ่มบริษัทบางบริษัทแยกการพัฒนาในรุ่น 3G เป็นแบบ CDMA เช่นกัน แต่เรียกว่า CDMA2000 กลุ่มบริษัทนี้พัฒนารากฐานมาจาก IS95 ซึ่งใช้ในสหรัฐอเมริกา และยังขยายรูปแบบเป็นการรับส่งในช่องสัญญาณที่ได้อัตราการรับส่งสูง (HDR-High Data Rate) การพัฒนาในยุคที่สาม นี้ยังต้องการความเกี่ยวโยงกับการใช้งานร่วมในเทคโนโลยีเก่าอีกด้วย โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกาที่ยังคงให้ใช้งานได้ทั้งแบบ 1G และ 2G โดยเรียกรูป แบบใหม่เพื่อการส่งเป็นแพ็กเก็ตว่า GPRS – General Packet Radio Service ซึ่งส่งด้วยอัตราความเร็วตั้งแต่ 9.06, 13.4, 15.6 และ 21.4 กิโลบิตต่อวินาที โดยในการพัฒนาต่อจาก GPRS ให้เป็นระบบ 3G เรียกระบบใหม่ว่า EDGE - (Enhanced Data Rate for GSM Evolution)

เทคโนโลยีในยุคที่ 3 เรื่องความเร็วในการรับ - ส่งข้อมูล โดยเน้นการเชื่อมต่อแบบไร้สายด้วยความเร็วสูง ทำให้สามารถใช้บริการ Multimedia ได้อย่าง สมบูรณ์แบบ และ มีประสิทธิภาพแบบมากยิ่งขึ้น เช่น การรับ - ส่ง File ขนาดใหญ่, การใช้บริการ Video Conference, Download เพลง, ดู TV ในลักษณะแบบ Streaming เป็นต้น สำหรับประเทศไทย ปี 2549 นี้ เป็นปีที่จะพยายามเข้าสู่ยุค 3G แต่สำหรับต่างประเทศโดย เฉพาะประเทศญี่ปุ่นได้เลยยุค 3G มาแล้ว


ที่มาข้อมูล http://www.chandra.ac.th

E-Commerce คืออะไร จงอธิบาย

        
ที่มารูปภาพ http://www.thaibizchina.com
 M-commerce (Mobile Commerce) เป็นการซื้อและขายสินค้าและบริการฝ่ายอุปกรณ์ไร้สาย เช่น โทรศัพท์เซลลูลาร์ ซึ่งถือว่าเป็นรุ่นต่อมาของ E-commerce โดย M-commerce สามารถให้ผู้ใช้ติดต่อกับอินเตอร์เน็ตแบบไม่ต้องมีการเชื่อมต่ออุปกรณ์ เทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลักของ M-commerce นั้นอยู่บนพื้นฐานของ Wireless Application Protocol (WAP) ซึ่งกำลังมีการใช้กันอย่างกว้างขวางในยุโรป โดยอุปกรณ์เหล่านี้จะติดตั้ง Browser แบบ Web-ready micro-browser การพัฒนา Web-enabled smart phones มีการใช้เทคโนโลยี Blue tooth เป็นระบบ smart phone ที่สามารถใช้ Fax, e-mail และโทรศัพท์ ในระบบเดียว เพื่อทำให้ M-commerce ได้รับการยอมรับตามการขยายตัวของโทรศัพท์เคลื่อนที่
 อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจาก M-Commerce
           - การเงิน รวมถึงธนาคารเคลื่อนที่และการซื้อขายหลักทรัพย์
           - โทรคมนาคม จากการเปลี่ยนการให้บริการ
           - บริการและการค้าปลีก
           - บริการสารสนเทศ เนื่องจากสามารถรับข่าวสารต่าง ๆ ที่อุปกรณ์เคลื่อนที่ได้
IBM และบริษัทอื่น ๆ กำลังทดสอบซอฟต์แวร์ที่สร้างความปลอดภัยให้กับทรานแซคชันของ M-Commerce

ที่มาข้อมูล http://www.com5dow.com


ปัจจุบันนี้บริการสนทนาแบบออนไลน์มีอะไรบ้างและอธิบายการใช้งาน

การสนทนาออนไลน์
ที่มารูปภาพ http://www.manager.co.th
                การสนทนาออนไลน์ หรือ Internet Relay Chat (IRC) หมายถึง โปรแกรมที่ถูกสร้างมาเพื่อการสนทนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยการพิมพ์ข้อความผ่านคีย์บอร์ดขึ้นสู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ซึ่งจะมีชื่อของผู้เล่นและข้อความแสดงขึ้นในหน้าต่างภายในจอคอมพิวเตอร์ของโปรแกรมสนทนา ให้คนอื่น ๆ ที่ร่วมสนทนาในห้องสนทนา (chat room) นั้น ๆ ได้เห็นว่า ผู้เล่นสนทนาคนอื่น ๆ สามารถเข้าสนทนาได้
บริการสนทนาออนไลน์บนอินเทอร์เน็ต เป็นการสื่อสารผ่านข้อความ เสียง และรูปภาพจาก Webcam โดยมีการโต้ตอบกันอย่างทันทีทันใด (real-time) มีลักษณะเดียวกันกับการสนทนาโดยโทรศัพท์ ต่างกันตรงที่ผู้สนทนาจะสื่อสารผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ ในขณะเดียวกันก็สามารถส่งข้อความ ภาพ และเสียงให้กันโดยมีอินเทอร์เน็ตเป็นสื่อกลางในการส่งข้อมูล
              การสนทนาออนไลน์มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับตัวบุคคลว่าจะใช้งาน ข้อดีที่คือการได้รู้จักผู้คนมากขึ้น ได้แนวความคิดหลากหลาย มองโลกได้กว้างขึ้นโดยที่เป็นการลดช่องว่างด้านเวลา และสถานที่ ทำให้ได้รับรู้ประสบการณ์ของผู้อื่นพร้อมกับเผยแพร่ประสบการณ์ของตัวเองที่เป็นประโยชน์ เผยแพร่และแลกเปลี่ยนความรู้ ข้อมูล ข่าวสารต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์  ส่วนข้อเสียเป็นอาการติดสนทนาออนไลน์ไม่สนใจกิจกรรมอื่นนอกจากสนทนาออนไลน์
                 รูปแบบการสนทนาออนไลน์ ในปัจจุบันมีคุณสมบัติพิเศษเพิ่มสีสันการสนทนามากมาย ทั้งนี้ก็เพื่อให้เกิดความแตกต่าง ความน่าสนใจ ทำให้เข้ามาสนทนาพูดคุย สามารถแบ่งรูปแบบการสนทนาออนไลน์อย่างกว้าง ๆ ได้เป็น 3 รูปแบบด้วยกัน คือ Web Chat, Web Board และโปรแกรมสนทนาออนไลน์ Web Chat เป็นการสนทนาโดยผ่านเซิร์ฟเวอร์กลาง ซึ่งจะทำให้เกิดกลุ่มสนทนาแล้วทุกคนที่ติดต่อกับเซิร์ฟเวอร์นั้นสามารถได้รับข้อความนั้นได้พร้อม ๆ กัน หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าห้องสนทนา (chat room) เป็นการเข้าไปคุยกันในเว็บที่จัดให้บริการ เป็นการคุยตอบโต้ระหว่างกันผ่านเซิร์ฟเวอร์ โดยใช้บราวเซอร์ปกติ รูปแบบ และบรรยากาศของห้องคุยก็จะขึ้นอยู่กับผู้สร้างสรรค์เว็บบริการนั้น ๆ ว่าให้ความน่าสนใจมากน้อยเพียงใด ซึ่งแต่ละห้องจะมีคนพูดคุยพร้อม ๆ กันหลายคน
    
รูปแบบการสนทนาออนไลน์ (Chat)
การสนทนาออนไลน์ผ่านเซิร์ฟเวอร์กลาง
                เป็นลักษณะการสนทนาแบบเป็นกลุ่ม โดยผู้สนทนาจะพิมพ์ข้อความที่ต้องการสื่อสารผ่านไปยังเซิร์ฟเวอร์ และเซิร์ฟเวอร์จะส่งข้อความเหล่านั้นออกมาแสดงบนหน้าจอของทุกคนที่กำลังติดต่อกับกับเซิร์ฟเวอร์อยู่ซึ่งเราเรียกว่า “ห้องสนทนา” (Chat Room)
                วิธีการสนทนาออนไลน์ผ่านทางเซิร์ฟเวอร์กลาง จะมีเทคนิคเพื่อให้เลือกใช้บริการดังนี้
                1. การสนทนาออนไลน์ผ่านโปรแกรม คือ ลักษณะการสนทนาด้วยข้อความในห้องสนทนาโดยใช้โปรแกรมของแต่ละเครื่องของผู้ใช้ มีเซิร์ฟเวอร์มากมาย เช่น PIRCH,mIRC และ Comic Chat
                2. การสนทนาออนไลน์ผ่านเว็บ (Web Chat) คือ รูปแบบของการนำวิธีการทำงานบนเว็บเซิร์ฟเวอร์มาทำให้เกิดห้องสนทนา บนเว็บเพจของผู้ที่เข้าไปใช้บริการ โดยไม่ต้องมีโปรแกรมรันอยู่บนเครื่องของผู้สนทนา ปัจจุบันการสนทนาออนไลน์ผ่านเว็บได้นำเทคโนโลยี “จาวา” (Java) มาใช้เขียนโปรแกรม
ขั้นตอนการสนทนาแบบ Chat Room
1.พิมพ์ URL ที่ช่อง Address: htt://www.sanook.com
2.คลิกเลือกที่ คุยสด จะแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ
Java Chat ซึ่งจะต้องติดตั้งโปรแกรม Java Applet ก่อน จึงจะสามารถสนทนารูปแบบนี้ได้Classic Chat เป็นรูปแบบดั้งเดิของการสนทนาออนไลน์โดยผ่ามเซิร์ฟเวอร์ สามารถใช้งานได้ทันทีโดยไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมใดๆเพิ่มเติม
3.เมื่อเลือก Ciassic Chat จะมีรายชื่อของห้องสนทนาต่างๆภายในเซิร์ฟเวอร์แสดงออกมาให้ผู้ใช้ได้เลือกตามควมสนใจ เพื่อจะได้เข้าไปคุยกับเพื่อนๆภายในห้องสนทนาที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน
4.เมื่อเลือกห้องที่ต้องการสนทนาได้แล้ว จะปรากฎเว็บเพจในการแนะนำวิธีการ Log on เพื่อขอใช้บริการ พร้องทั้ให้พิมพ์ชื่อ และสีของข้อควมที่ต้องการใช้ระหว่างการสนทนจา เมื่อกำหนดเรียบร้อยแล้วให้คลิกที่ "เข้าห้อง"
5.เมื่อเข้าไปภายในห้องสนทนาแล้ว จะปรากฎชื่อของสมาชิกทั้งหมดภายในห้องสนทนานี้ และการสนทนาสามารถเลือกได้ว่าจะส่งข้อความถึงใคร หรือส่งถึงทุกคนภายในห้องก็ได้ แต่ขอความที่แสดงบนหน้าจอ ทุกคนที่อยู่ภายในห้องสนทนานั้นจะเห็นด้วยกันทั้งหมด
6.เมื่อเลิกผู้สนทนาที่เราต้องการส่งข้อความถึงแล้วนั้น เราก็ทำการพิมพ์ข้อความที่ต้องการจะส่งไป แล้วเลือกคลิกที่ Update ข้อความของเราจะไปปรากฎบนหฟน้าจดของทุกคนที่ใช้ห้องสนทนานี้
7.เมื่อต้องการออกจากหน้าสนทนา ให้คลิก Logoff
8.เพียงการทำงานตามขั้นตอนนี้ เราก็สามารถไปห้องสนทนายังห้องต่างๆได้โดยไม่ต้องทำการลงทะเบียนสมัครป็นสมาชิของเว็บไซต์ที่ให้บริการเหล่านั้น และเมื่อทำการ Logoff ออกจากห้องสนทนาห้องใดห้องหนึ่งแล้ว ก็สามารถที่จะเปลี่ยนไปสนทนายังห้องอื่นๆต่อไปได้อีก
การสนทนาออนไลน์โดยตรงระหว่างผู้ใช้อินเทอร์เน็ต
                การสนทนาออนไลน์รูปแบบนี้จะไม่ต้องผ่านเซิร์ฟเวอร์ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “การรับส่งสารแบบทันทีทันใด” หรือ Instant Messaging เช่นโปรแกรม ICQ,MSN Messenger, Yahoo Messenger, Windows Messenger เป็นต้น จะเป็นรูแบบของการสนทนาแบบตัวต่อตัว มิใช่ลักษณะการสนทนาในแบบห้องสนทนา
เว็บไซต์ที่ให้บริการสนทนาออนไลน์
http://www.thaimsn.com                 http://www.icq.com
http://www.simpirch.com                http://www.thaichat.net


ที่มาข้อมูล http://kukkai777.blogspot.com

Webboard คืออะไร จงอธิบาย

Webboard คืออะไร 
WebBoard คือเว็บไซต์ที่ทำหน้าที่ในลักษณะเป็น กระดานสนทนา เป็นกระดานแจ้งข่าวสาร ข้อมูล และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน โดยใช้รูปแบบการแสดงผล HTML ที่นิยมใช้ใน World Wide Web (WWW ) ซึ่ง WebBoard อนุญาตให้ผู้เยี่ยมชมเวปไซต์ และผู้พัฒนาเวปไซต์สามารถตั้งหัวข้อกระทู้ เพื่อประกาศข่าวสาร แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้ โดยทั่วไปมักเรียกเว็บบอร์ด(webboard)ว่า บอร์ด  หรือ กระดานข่าวสาร กระดานข่าวสารนั้นยังมีชื่อเรียกอื่นอีกมากมาย อาทิเช่น กระดานสนทนาออนไลน์,เว็บบอร์ด,เว็บฟอรัม,ฟอรัม,เมสเซจบอร์ด,บุลเลตอินบอร์ด,ดิสคัชชันบอร์ด ตัวอย่างในเว็บบอร์ดไทยได้แก่ พันทิป, เอ็มไทย เป็นต้น

กระดานข่าวสารแบ่งได้เป็น 3 ส่วนตามลักษณะการติดต่อระหว่างผู้ติดต่อ คือ
1.ส่วนของ ผู้ใช้ที่เข้าระบบโดยการกรอกชื่อและรหัสผ่าน - ผู้ไม่ประสงค์ออกนาม
2.ส่วนของ ผู้ดูแลระบบทั่วไปหรือสูงสุด - แผงปุ่มคำสั่งต่างๆ ที่ใช้จัดการกับกระดานข่าวสาร
3.ส่วนของ ผู้ดูแลระบบสูงสุด - ฐานข้อมูลของกระดานข่าวสาร


ประยชน์โของการใช้ Webboard
-เป็นช่องทางในการติดต่อ ประกาศข่าวสาร ข้อมูล และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้
-ทำให้เกิดสังคม ในการสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ระหว่างกลุ่มผู้เยี่ยมชม
-ผู้พัฒนาโฮมเพจ สามารถใช้เป็นช่องทางในการ ประกาศข่าวใหม่ๆ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้อื่นได้
-ง่ายในการใช้งาน แม้จะเป็นผู้เริ่มต้น เมื่อเทียบกับการใช้ mailing lists หรือ News Group

ที่มาข้อมูล http://www.mindphp.com